ที่ Kela เราให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบของเราอย่างจริงจัง และพยายามเผยแพร่ความตระหนักเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านแพลตฟอร์ม KelAcademy ของเรา เราให้บริการเครื่องมือการศึกษา ทรัพยากร และการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจอย่างมีข้อมูลเมื่อสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ เรามุ่งมั่นที่จะรักษาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะสำหรับทั้งมนุษย์และสัตว์โดยการส่งเสริมความตระหนัก การปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบ และแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน อ่าน บทความ ของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดื้อยา (AMR) และความพยายามของเรา
ศึกษาเพิ่มเติมเคลา ฟาร์มา (Kela Pharma) ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของซีเรส ฟาร์มา (Ceres Pharma)
เคลา ฟาร์มา (Kela Pharma) ซึ่งเป็นแผนกด้านสุขภาพมนุษย์ของบริษัทเคลา เอ็นวี (Kela nv) ได้ถูกเข้าซื้อกิจการโดยบริษัทซีเรส ฟาร์มา เอ็นวี (Ceres Pharma nv) บริษัทเภสัชกรรมจากประเทศเบลเยี่ยมที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสำหรับผู้หญิงและครอบครัว การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเคลา ฟาร์มา (Kela Pharma) โดยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างและขยายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม สุขภาพเพื่อมนุษย์ กรุณาคลิกที่ลิงก์เพื่อดูข่าวประชาสัมพันธ์ Ceres Pharma acquires Kela Pharma บริษัทเคลา เอ็นวี (Kela nv) ยังคงมุ่งมั่นในกิจกรรมหลักของเรา ซึ่งได้แก่ แผนกด้านสุขภาพสัตว์และการดำเนินงานในฐานะองค์กรที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิตตามสัญญา (CDMO) เราจะเดินหน้าพัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายซึ่งตอบโจทย์ด้านสุขภาพสัตว์คุณภาพสูงทั่วโลก ที่บริษทเคลา เรามุ่งมั่นในด้านคุณภาพ นวัตกรรม และความร่วมมือ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการในแผนกด้านสุขภาพสัตว์ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราหรือติดต่อเราที่ info@kela.health
ศึกษาเพิ่มเติมความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกีบและขาเจ็บ ความอุดมสมบูรณ์ และผลลัพธ์ในการสืบพันธุ์ในระบบการเลี้ยงโคนมสมัยใหม่
ภาวะกีบและขาเจ็บเป็นหนึ่งในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในระบบการเลี้ยงโคนมเชิงพาณิชย์แบบเข้มข้น อ่านบทความที่ครอบคลุมของเราเพื่อรับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะกีบและขาเจ็บและความสำคัญของการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงกลยุทธ์การป้องกันที่สำคัญในการเสริมผลลัพธ์ด้านการเจริญพันธุ์ในฟาร์มโคนม
ศึกษาเพิ่มเติมการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมที่เกิดจากการติดเชื้อ
อัตราการตายก่อนหย่านมเป็นความท้าทายที่สําคัญสําหรับผู้ผลิตสุกร ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งผลผลิตและผลกําไร บทความล่าสุดของเราเจาะลึกถึงสาเหตุการติดเชื้อของการตายก่อนหย่านมในลูกสุกร โดยวิเคราะห์โรคสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งแม่สุกรและลูกสุกร
ศึกษาเพิ่มเติมลดอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านม กลยุทธ์สำคัญเพื่อความสำเร็จของกลุ่มสุกร
การตายก่อนหย่านมของลูกสุกร (Pre-Weaning Mortality) (PWM) เป็นความท้าทายที่สําคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตและผลกําไรของกลุ่มสุกร การทําความเข้าใจกับปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการไม่ติดเชื้อที่ส่งผลต่อ PWM เป็นสิ่งสําคัญสําหรับการเสริมสร้างสวัสดิภาพของสัตว์ ลดการสูญเสียการผลิต และเพิ่มผลกําไรของฟาร์ม บทความ เคลาอคาเดมี่ (KelAcademy) เจาะลึกถึงองค์ประกอบที่สําคัญที่มีอิทธิพลต่อ PWM เช่น น้ำหนักแรกเกิดของลูกสุกร การได้รับน้ำนมเหลือง และการจัดการดูแลแม่สุกร นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์เชิงปฏิบัติที่เกษตรกรสามารถนําไปใช้เพื่อลดการตายของลูกสุกร และปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มสุกรโดยรวม
ศึกษาเพิ่มเติมเยี่ยมชมงานไอพีวีเอส (IPVS) ฮอลล์ 2 – บูท B02
เรียนเชิญทุกท่านเข้าเยี่ยมชมและพูดคุยกับเราที่บูทของเราในงานไอพีวีเอส (IPVS) เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกับทุกท่านที่งานนี้
ศึกษาเพิ่มเติมโรคแบลคเลกในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
โรคแบลคเลค (Black leg) หรือที่เรียกว่า โรคไข้ขา หรือ แบลคควอเตอร์ (Black Quarter) เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อโคเนื้อ โคนมที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าเป็นหลัก และส่งผลกระทบกับแกะบ้างเป็นครั้งคราวทั่วโลก โรคแบลคเลค (Black leg) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริดียม โชวิโอ (Clostridium chauvoei) และนําไปสู่การตายของเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ (myonecrosis) ที่มีอัตราการตายสูงโดยเฉพาะในสัตว์อายุน้อย อาการทางคลินิก ได้แก่ มีไข้สูง มีอาการซึมเศร้า (ไม่กินอาหาร, อ่อนเพลีย) มีอาการบวมน้ำใต้ผิวหนัง การตายแบบเฉียบพลัน การเกิดโรคเกี่ยวข้องกับการกินสปอร์จากดินซึ่งยังคงแฝงอยู่ในกล้ามเนื้อจนกว่าจะถูกกระตุ้นโดยการบาดเจ็บหรือขาดเลือดทําให้เกิดเนื้อร้ายและการหลั่งสารพิษ การวินิจฉัยเป็นสิ่งที่ท้าทาย ในสัตว์ที่มีชีวิตการวินิจฉัยเบื้องต้นของโรคแบลคเลก (Blackleg) สามารถทําได้โดยพิจารณาจากอาการทางคลินิกและการเกิดของถุงลมโป่งพองของกล้ามเนื้อทั่วไป ทางเลือกในการรักษามีจํากัด การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนอาจเป็นกลยุทธ์หลัก การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ (ยาปฏิชีวนะที่เป็นตัวเลือกคือ โปรเคน เพนิซิลลิน – procaine penicillin) รอบ ๆ เนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบ การตัดเล็มเนื้อตายที่บาดแผลออกเพื่อให้อากาศเข้าถึงพร้อมกับการรักษาตามอาการสามารถช่วยให้ดีขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของเราได้ที่ บทความ
ศึกษาเพิ่มเติมโรคลัมปี สกิน
โรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease; LSD) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีผลต่อโคเนื้อ โคนมเป็นหลัก ทำให้มีไข้ มีตุ่มบนผิวหนังและอาการอื่น ๆ โดยติดต่อผ่านการสัมผัสจากแมลงกับสัตว์ที่ติดเชื้อจาก (น้ำลาย, เลือด, สะเก็ดผิวหนัง, น้ำตา และน้ำมูก, ….) และการขับเชื้อไวรัสผ่านทางน้ำเชื้อ, แผลเปื่อยที่เกิดจากตุ่มที่ผิวหนัง การรักษาโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease; LSD) ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง เช่น การรักษาตามอาการ การบรรเทาอาการปวด และการได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ การฉีดวัคซีนยังเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ มาตรการการดูแลแบบประคับประคองอาจรวมได้ดังนี้ • บรรเทาอาการปวด: ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น คีลาโปรเฟน 10 % (Kelaprofen 10% ) สามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบในโคเนื้อ โคนมที่ได้รับผลกระทบได้ • โภชนาการ: การให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและการรักษาโภชนาการที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน สำหรับสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เราขอแนะนำให้ฉีดวิตามิน เอ ดี 3 อี (AD3E) เพื่อเสริมการฟื้นตัวและสนับสนุนการฟื้นตัว • การดูแลแผล: การรักษาบาดแผลที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ […]
ศึกษาเพิ่มเติมบทบาทสำคัญของความปลอดภัยทางชีวภาพ ของฟาร์ม
Kela เราไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตยาเท่านั้น เราทุ่มเทให้กับความเป็นอยู่โดยรวมของสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม แง่มุมที่สําคัญของการเลี้ยงสัตว์ คือ ความปลอดภัยทางชีวภาพ คุณรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สําคัญของแผนความปลอดภัยทางชีวภาพหรือไม่ โปรดอ่านบทความเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม นี่คือลิงค์ไปยังบทความ
ศึกษาเพิ่มเติมงานเลี้ยงหลังเลิกงาน
บรรยากาศงานเลี้ยงหลังเลิกงานของเราประสบความสําเร็จอย่างมาก มีเครื่องดื่มที่สดชื่น ดนตรีไพเราะ เฟรนฟรายส์เบลเยี่ยม และเพื่อนร่วมงานที่ดีมากมาย! ช่วงเวลายามเย็นที่น่าจดจํา ขอเฉลิมฉลองให้กับทีมที่ยอดเยี่ยมของเรา ทีมเคลา! 🙌
ศึกษาเพิ่มเติมโรคต่างๆของสัตว์ในช่วงฤดูฝน
โรคระบาดในสุกรที่มักพบช่วงฤดูฝน ด้วยขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก น้ำท่วมขังและเปียกชื้น ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์ ทำให้สัตว์อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย PRRS และ ASF รวมทั้งมีโอกาสติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝนได้ เช่น โรคฉี่หนู โรคเลปโตสไปโรซีส เป็นต้น จึงอยากจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคฉี่หนูและ โรคเลปโตสไปโรซีส เพื่อเป็นแนวทางป้องกันและรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคต่างๆของสัตว์ในช่วงฤดูฝน
ศึกษาเพิ่มเติมเคล็ดลับและเทคนิคการจัดการกับภาวะ ความเครียดจากความร้อนในสุกร
ภาวะความเครียดจากความร้อนในสุกรมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลผลิตและผลกําไรของฟาร์มสุกร การใช้เคล็ดลับและเทคนิคการจัดการต่างๆในการระบายอากาศ ความเย็น น้ า อาหาร กิจกรรม ฯลฯ ภาวะความเครียดจากความร้อน สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม อ่านบทความฉบับเต็มเกี่ยวกับ ภาวะความเครียดจากความร้อนในสุกร
ศึกษาเพิ่มเติม